การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็น อภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มาก มีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป โลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
ประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต: อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้น นำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ที่มา: http://www.kruyoon.com
การทำงานและการเชื่อมต่อแบบต่างๆ: การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ
การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่
ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้
การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)
2.สายโทรศัพท์
3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program) ขั้นตอนการเชื่อมต่ออย่างละเอียด คลิกที่นี่
ที่มา: http://www.thaiwbi.com/course/Internet_Connect/
IP Address (Internet Protocol Address)
IP address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันที่ใช้งานอยู่คือไอพีเวอร์ชัน 4 ประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด IP Address ที่ใช้กันอยู่นี้เป็นตัวเลขไบนารี ขนาด 32 บิตหรือ 4 ไบต์ 11101001/ 11000110/ 00000010/ 01110100 แต่เมื่อต้องการเรียก IP Address จะเรียกแบบไบนารีคงไม่สะดวกจึงแปลงเลข Binary หรือเลขฐานสองแต่ละไบต์ (8 บิต) ให้เป็นตัวเลขฐานสิบ โดยมีจุดคั่น 11101001 11000110 00000010 01110100
158 . 108 . 2 . 71
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำจึงได้มีการกำหนดหมายเลขประจำ เครื่อง ที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกันจึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อแจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่ายส่วนลูกข่ายของเครื่องและทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็นผู้แจก จ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน คือ
1.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครือข่าย (Network Address)
2.ส่วนที่ใช้เป็นหมายเลขเครื่อง (Host Address)
การแบ่งขนาดของเครือข่าย
ไอพีเวอร์ชัน 4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งาน ต่างๆกัน ดังต่อไปนี้
Class A Class A ใช้ไบต์แรก (8 bit) เป็น Network number และให้บิตแรก เป็น 0 จึงมี Network number ระหว่าง 0 - 127 (126 เครือข่าย) ส่วน Host number ใช้ 3 ไบต์ (24 บิต) จึงมีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 16,777,124 เครื่อง หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 0.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อภายในเครือข่ายจำนวนมากๆ
Class B Class B ใช้ 2 ไบต์แรก (16 bit) เป็น Network number และให้ 2 บิตแรก เป็น 10 จึงมี Network number เท่ากับ 2 ยกกำลัง (16-2) หรือ 16,382 เครือข่าย ส่วน Host number ใช้ 2 ไบต์ (16 bit) มีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ 65,534 เครื่อง หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 128.0.0.0 ถึง 191.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดกลาง สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ถึง 65,534 เครื่อง
Class C Class C ใช้ 3 ไบต์แรก (24 bit) เป็น Network number และให้ 3 บิตแรกเป็น 110 จึงมี Network number เท่ากับ 2 ยกกำลัง (24-3) หรือ 2,097,152 เครือข่าย ส่วน Host number ใช้ 1 ไบต์ (8 bit) มีคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายได้ 254 เครื่อง หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 192.0.0.0 ถึง 223.255.255.255 มีไว้สำหรับจัดสรรให้กับองค์กรขนาดเล็กและใช้กับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Class D Class D จะกำหนดให้ 4 บิตแรก เป็น 1110 หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 สำหรับหมายเลข IP Address ของ Class นี้มีไว้เพื่อใช้ในเครือข่ายแบบ Multicast เท่านั้น
Class E Class E จะกำหนดให้ 5 บิตแรก เป็น 11110 หมายเลข IP Address จะอยู่ในช่วง 240.0.0.0 ถึง 254.255.255.255 สำหรับหมายเลข IP Address ของ Class นี้ จะเก็บสำรองไว้ใช้ในอนาคตปัจจุบันจึงยังไม่ได้มีการนำมาใช้งาน
ระบบการอ้างอิงการมีตัวตนหรือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์นั้นตัวเลข IP address แต่ละเครื่องทั่วโลกจะต้องไม่ซ้ำกันตัวเลขนี้จะได้รับการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ ให้แต่ละองค์กรนำไปปฏิบัติ โดยผู้ที่จะสร้างเครือข่ายต้องทำการขอหมายเลขประจำเครือข่ายเพื่อมา กำหนด ส่วนขยายต่อสำหรับเครื่องเอาเอง โดยปกติเราแบ่ง IP address เป็น 2 แบบคือ
1. Public IP address (อาจเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า WAN IP address) คือ IP ที่มีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กรแต่ละบุคคลต่างก็สามารถเชื่อมต่อเข้าหากัน รับส่งข้อมูลระหว่างกันผ่านเครือข่ายสาธารณะได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น IP address ที่ใช้งานจริงและจะต้อง มีการจดทะเบียนและเสียเงินเพื่อใช้งานจริงๆ มีการจดบันทึกในระบบว่าใครใช้งาน IP อะไรในวงกว้าง ทำอะไรผิดก็ต้องระวัง IP address ไปโผล่บน Server
2. Private IP address (อาจเรียกว่า LAN IP address) คือ IP address ที่ใช้งานส่วนตัวหรือภายในองค์กร สามารถใช้งานได้เลยโดยไม่ต้องทำการลงทะเบียน หากต้องการใช้ติดต่อกับเครื่องที่อยู่ภายนอกนอกจะต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า NAT อะอ๊ะอ๊า..ไม่ใช่น้องแนทที่รู้จักกันดีอย่างแพร่หลายนะงับ แต่หมายถึง Network Address Translator ซึ่ง จะทำการแปลง Private IP Address จากวง LAN ให้เป็น Public IP Address เพื่อใช้ติดต่อกับเครือข่ายภายนอก ค่า IP Address ที่กำหนดให้เป็น Private IP Address นั้น มีดังนี้ Class A = 10.0.0.0 - 10.255.255.255
Class B = 172.16.0.0 - 172.31.255.255
Class C = 192.168.0.0 - 192.168.255.255
การกำหนด IP address มี 2 วิธีหลักๆคือ
1. Static IP address คือการกำหนดเลข IP address เอาดื้อๆ เครื่องอื่นๆ ในวงต้องมี Network Address อยู่ในกลุ่มเดียวกันจึงจะสามารถมองเห็นกันได้
2. Dynamic IP address คือการกำหนดเลข IP address โดยอุปกรณ์หรือ Server ที่เรียกว่า DHCP server (Dynamic Host Configuration Protocol Server) ซึ่งจะง่ายกว่าแบบแรกเนื่องจากไม่ต้องทราบอะไรเลยเสียบปุ๊บ ตั้ง Auto ใช้งานได้เลย
การตั้งค่า Static IP address เพื่อให้วง IP เป็นวงเดียวกันจะต้อง
1. มี Subnet mask เดียวกัน
2. หากต้องการวิ่งไปยังช่องทางออกผ่านการแชร์ของเครื่องใดเครื่องหนึ่ง ให้เช็ค IP address ของทางออกแล้ว Set ค่าที่ Gateway ให้ตรงกับเครื่องที่ใช้เป็นทางออก
3. มี Network Address เดียวกัน
4. มี Host Address ไม่ตรงกัน
การหาค่า Host และ Network Address
เนื่องจากระบบ IP address ทำงานอยู่บนระบบเลขฐาน 2 เป็นจำนวน 32 ตัว เพื่อความง่ายต่อการเรียก จึงแบ่งออกเป็น 4 ชุด ชุดละแปดตัว (2 ยกกำลังแปด = 256 เลขที่เป็นไปได้คือ 0-255) การหาค่า Host และ Network Address ทำได้ดังนี้
ตั้งค่าเครื่องคิดเลขของท่านไปเป็นแบบ Logical Calculator
เอาเลข Subnet mask มา and กับ IP Address ค่าที่ได้จะเป็น Network Address
invert Subnet mask มา and กับ IP Address ค่าที่ได้จะเป็น Host Address
ที่มา: http://www.thaievo.com/wpte
โดเมนเนม (Domain namr system: DNS)
ที่มา: http://torauk.freeservers.com/useinter.htm
ความรู้เกี่ยวกับ Domain
โดเมนเนม ประกอบด้วย ชื่อองค์กร . ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร . ส่วนขยายบอกประเทศ เช่น
google.co.th ประกอบด้วย google แทน บริษัท Google . co ย่อมาจาก commercial (องค์กรเอกชน) . th ย่อมาจาก thailand เป็นต้น
อื่นๆ เช่น sisaket.go.th ประกอบด้วย sisaket แทน จังหวัดศรีสะเกษ . go แทน Goverment (ราชการ) . th ประเทศไทย
ตัวอย่างส่วนขยายองค์กร เช่น ac , edu แทน สถาบันทางการศึกษา net แทน องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายทั่วไป
ตัวอย่างส่วนขยายประเทศ เช่น th : ไทย , uk : อังกฤษ , jp : ญี่ปุ่น, fr : ฝรั่งเศส , de : เยอรมันนี , ca : แคนาดา เป็นต้น
โดเมนเนม ประกอบด้วย ชื่อองค์กร . ส่วนขยายบอกประเภทองค์กร . ส่วนขยายบอกประเทศ เช่น
google.co.th ประกอบด้วย google แทน บริษัท Google . co ย่อมาจาก commercial (องค์กรเอกชน) . th ย่อมาจาก thailand เป็นต้น
อื่นๆ เช่น sisaket.go.th ประกอบด้วย sisaket แทน จังหวัดศรีสะเกษ . go แทน Goverment (ราชการ) . th ประเทศไทย
ตัวอย่างส่วนขยายองค์กร เช่น ac , edu แทน สถาบันทางการศึกษา net แทน องค์กรที่ให้บริการเครือข่ายทั่วไป
ตัวอย่างส่วนขยายประเทศ เช่น th : ไทย , uk : อังกฤษ , jp : ญี่ปุ่น, fr : ฝรั่งเศส , de : เยอรมันนี , ca : แคนาดา เป็นต้น
ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรตัวเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่จะนิยมใช้ตัวอักษรตัวเล็ก โดยมีการกำหนดจากหน่วยงานที่ชื่อว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่าง ๆ ลงมา ซึ่งใช้แทนความหมายต่าง ๆ แล้วแต้ผู้จัดทำจะกำหนดขึ้น เช่น ตั้งชื่อตามคณะหรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อหรือแผนกในหน่วยงานหรือบริษัท เป็นต้น แต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอ การดูระดับจากบนลงล่าง ให้ดูจากด้านขวามาด้านซ้าย เช่น ชื่อ Domain คือ wap.yahoo.com จะได้ว่า .com เป็นชื่อ Domain ในระดับบนสุด ถัดจากจุดเริ่มต้นหรือรากของโครงสร้าง (root) ระดับที่สองคือชื่อ yahoo และระดับล่างสุดคือ wap หมายความว่าชื่อ Domain นี้ แทนที่ชื่อหน่วยงานหรือลักษณะการบริการ wap ของบริษัทชื่อ yahoo และเป็นบริษัทเอกชน ดังรูป
ในการกำหนดหรือการตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องมีการลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน InterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตสามารถอ้างอิงเข้ามาใช้งานได้ เหมือนกับการขอจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัท ที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจดูว่าชื่อนั้นจะไปซ้ำกับคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาตให้ใช้งานได้ ชื่อ Domain name นี้จะมีความยาวไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่ง ๆ อาจมีหลายระดับได้ตามที่ต้องการ และข้อสังเกตที่สำคัญก็คือชื่อและจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดในตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด | |
ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การจัดฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยจะเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมที่อ้างถึงชื่อโดเมนบนเครื่องหนึ่ง ก็จะมีการสอบถามไปยังฐานข้อมูลในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั่นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจจะมี Name Server ได้หลายเครื่องรวมกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้รู้จัก Name Server เครื่องใดบ้าง) เครื่องที่เป็น Name Server ก็อาจเรียกดูในฐานข้อมูล และถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้อง ให้ระบบ Name Server นี้จะมีการ กระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่ง ๆ ก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมาเพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายของตนเอง ดังนั้นถ้า Name Server เครื่องหนึ่งไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จัก Domain Name ที่ถูกถามมาก็อาจจะไปขอข้อมูลจาก Name Server เครื่องอื่น ๆ ที่ตนรู้จักจนกว่าจะพบ หรือจนกว่าจะทั่วและพบว่าไม่มีเครื่องไหนรู้จักเลย กรณีนี้ก็จะตอบไปว่าไม่รู้จัก (หรือถ้ามี Name Server บางเครื่องที่รู้จักชื่อนั้น แต่ในขณะนั้นเกิดการขัดข้องอยู่ ก็จะได้คำตอบว่าไม่มีเครื่องใดรู้จักเช่นกัน) |
การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยรวมไปถึงการกำหนดชื่อผู้ใช้ในระบบได้อีกด้วย ดังที่กล่าวมาแล้วกฏเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยการตั้งชื่อผู้ใช้มีรูปแบบดังนี้
| |||||
ชื่อ User จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใด ๆ เช่น ชื่อผู้ใช้คนหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า “แอท”หมายถึง “อยู่ที่เครื่อง…” แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ | |||||
ชื่อ Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะช่วยขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่าง ๆ ใน domain นั้น เช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่ม ๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน subdomain ต่าง ๆ ซึ่งในที่หนึ่ง ๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain มักจะเป็นชื่อ Host ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง
|
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. โดเมน 2 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3 ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
* .com คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ สถาบันการศึกษา
* .gov คือ องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
* .co คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ สถาบันการศึกษา
* .go คือ องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
* .th คือ ประเทศไทย
* .cn คือ ประเทศจีน
* .uk คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
Web browser
Web browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประวัติความเป็นมาของ Web browser
ทิม เบอร์เนอร์ส ลี แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบ Hypertext โปรแกรมค้นดูเว็บตัวแรกมีชื่อ ว่า เวิลด์ไวด์เว็บ แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจังเมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์ แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นดูเว็บเชิงกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสกก็ได้ออกไปเปิดบริษัท Netscape
มาตรฐานของ Web browser
Web browser เชื่อมโยงกับweb server ผ่านมาตรฐานหรือ Protocol แบบ HTTP ในการส่งหน้า เว็บ หรือเว็บเพจ ซึ่งสนับสนุนโดย Web browser ทั่วไป ยกเว้น Internet explorer ที่ยังสนับสนุนไม่เต็มที่ ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่า URL หรือ URI ซึ่งรูปแบบมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า http:// สำหรับการติดต่อ แบบ http Web browser ส่วนมากสนับสนุนการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นนอกจากนี้ เช่น ftp:// สำหรับ FTP https:// สำหรับ http แบบสนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น รูปแบบของไฟล์สำหรับเว็บเรียกว่า HTML และสนับสนุนไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น รูปภาพ (JPG, GIF, PNG) หรือเสียง
รายชื่อ web browser ยอดนิยมได้แก่ Windows internet explorer(IE),Mozilla firefox,opera,Chrom
ประโยชน์ของ Web Browserสามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบันWeb browser หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTML)ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนสื่อในการติดต่อกับเครือข่าย หรือ เน็ตเวิร์คขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประวัติความเป็นมาของ Web browser
ทิม เบอร์เนอร์ส ลี แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบ Hypertext โปรแกรมค้นดูเว็บตัวแรกมีชื่อ ว่า เวิลด์ไวด์เว็บ แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจังเมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์ แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นดูเว็บเชิงกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสกก็ได้ออกไปเปิดบริษัท Netscape
มาตรฐานของ Web browser
Web browser เชื่อมโยงกับweb server ผ่านมาตรฐานหรือ Protocol แบบ HTTP ในการส่งหน้า เว็บ หรือเว็บเพจ ซึ่งสนับสนุนโดย Web browser ทั่วไป ยกเว้น Internet explorer ที่ยังสนับสนุนไม่เต็มที่ ที่อยู่ของเว็บเพจเรียกว่า URL หรือ URI ซึ่งรูปแบบมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่า http:// สำหรับการติดต่อ แบบ http Web browser ส่วนมากสนับสนุนการเชื่อมต่อรูปแบบอื่นนอกจากนี้ เช่น ftp:// สำหรับ FTP https:// สำหรับ http แบบสนับสนุนการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น รูปแบบของไฟล์สำหรับเว็บเรียกว่า HTML และสนับสนุนไฟล์รูปแบบอื่นๆ เช่น รูปภาพ (JPG, GIF, PNG) หรือเสียง
รายชื่อ web browser ยอดนิยมได้แก่ Windows internet explorer(IE),Mozilla firefox,opera,Chrom
รายชื่อ Web Browser ยอดนิยม
Windows Internet Explorer ก่อนนี้เรียกว่า Microsoft Internet Explorer โดยมีชื่อย่อว่า IE เป็น web browser จากไมโครซอฟท์ สำหรับระบบปฏิบัติการ windows และ Mac Os ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่ง ของระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Internet explorer เป็น browser ที่นิยมใช้มากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
โดยในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 IE ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ตั้งแต่รุ่น วินโดวส์ 95 OSR1 และรุ่นล่าสุดอยู่ในวินโดวส์ XP Service Pack 2 และ รุ่นล่าสุด ไออี 7 ได้เปิดให้ดาวน์โหลดตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และได้มีการติดตั้งครบ 100 ล้านครั้ง ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้รุ่นสำหรับแมคโอเอสนั้นได้หยุดการพัฒนาที่เวอร์ชัน 5.2.3 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 หลังจากที่แอปเปิลได้ออก web browser
โดยในเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2548 IE ได้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรแกรมระบบปฏิบัติการ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ ตั้งแต่รุ่น วินโดวส์ 95 OSR1 และรุ่นล่าสุดอยู่ในวินโดวส์ XP Service Pack 2 และ รุ่นล่าสุด ไออี 7 ได้เปิดให้ดาวน์โหลดตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2549 และได้มีการติดตั้งครบ 100 ล้านครั้ง ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้รุ่นสำหรับแมคโอเอสนั้นได้หยุดการพัฒนาที่เวอร์ชัน 5.2.3 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2546 หลังจากที่แอปเปิลได้ออก web browser
Internet Explorer 7
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 บิลล์ เกตส์ได้ประกาศว่าจะออก browser รุ่นใหม่ในงาน RSA Conference 2005 โดยการตัดสินดังกล่าวเกิดขึ้นจากเว็บเบราว์เซอร์มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ที่ได้ส่วนแบ่ง ตลาดการใช้งานเพิ่มขึ้น ซึ่งรุ่นเบต้ารุ่นแรกได้ออกเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และรุ่นเบต้าแรกที่เปิด ให้ผู้ใช้ทั่วไปดาวน์โหลดได้ออกเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2549 โดยไออีรุ่นที่ 7 นั้นมีความสามารถใหม่ เพื่อป้องกันการผู้ใช้จากฟิชชิง และมัลแวร์ นอกจากนั้นยังได้มีระบบควบคุม ActiveX คอนโทรลและเฟรม เวิร์กในส่วนความปลอดภัยใหม่ และที่สำคัญได้แยกการทำงานร่วมกับ explorer ออกมาจากวินโดวส์เพื่อให้ ปลอดภัยกว่าเดิม
ไออี 7 ยังรองรับมาตรฐานเว็บดีขึ้นกว่าเดิมใน HTML 4.01/CSS 2 และยังมีความสามารถใหม่อย่าง แท็บด์เบราว์ซิง (tabbed browsing) กล่องค้นหาที่รองรับหลาย seach engine ด้วยกัน ตัวอ่านเว็บฟีดอย่าง RSS รองรับ Internationalized Domain Name (IDN) และมีโปรแกรมป้องกันฟิชชิงในตัว บนWindows Vista ไออี 7 ทำงานในโหมดป้องกันพิเศษเรียกว่า Protected Mode ซึ่งจะทำงานใน ส่วนการควบคุมความปลอดภัยแบบพิเศษ โดยจะไม่สามารถเข้าถึงส่วนอื่นๆในระบบปฏิบัติการได้นอกจาก แฟ้ม Temporary Internet Files และแม้แต่ไออีเองก็จะไม่สามารถเขียนไฟล์หรือ registry ของผู้ใช้ได้ โดย โหมดใหม่นี้ได้ออกแบบเพื่อลดความเสี่ยงแม้ว่ามีช่องโหว่ใหม่ที่พบเจอขึ้นในอนาคต และป้องกันโปรแกรม หรือแฮกเกอร์ที่พยายามจะติดตั้งโปรแกรมโดยไม่ให้ผู้ใช้ทราบ
Mozilla Firefox หรือรู้จักกันในชื่อว่า Firefox เป็นweb browser แบบกราฟิกส์ ที่สามารถใช้ได้ใน หลายระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การ ดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 36 ภาษา[1] ไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์เสรี ในประเภทที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในปัจจุบันโปรแกรมหนึ่ง โดยนับจากจำนวนการดาวน์โหลดมากกว่า 25 ล้านครั้งใน 14 สัปดาห์แรก (ปัจจุบันมีการดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด [2] นับตั้งแต่ออกรุ่น 1.0 ใน วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547) รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 2.0.0.6 ออกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2550
โครงการไฟร์ฟอกซ์ริเริ่มโดย เดฟ ไฮแอตต์ และ เบลก รอสส์ (Blake Ross) โดยเป็นโครงการ ทดลองอันหนึ่งของโครงการมอซิลลา มีจุดมุ่งหมายให้เป็นเบราว์เซอร์เพียงอย่างเดียว (Stand-alone Web Browser) แทนที่จะเป็นชุดโปรแกรมสำหรับอินเทอร์เน็ต ดังเช่น มอซิลลา (Mozilla Suite หรือ Seamonkey) ผู้นำโครงการปัจจุบันคือ เบน กูดเจอร์ (Ben Goodger - ปัจจุบันเป็นพนักงานของกูเกิล แต่ ยังคงทำหน้าที่นี้อยู่) ปัจจุบันมีผู้ดาวน์โหลดไปมากกว่า 100 ล้านชุด และปริมาณการใช้ในแถบยุโรปสูงขึ้น อย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศฟินแลนด์
ที่มาของชื่อ
เดิมทีชื่อของไฟร์ฟอกซ์คือ ฟีนิกซ์ (Phoenix) โดยมีที่มาจากนกฟีนิกซ์หรือนกไฟ ที่คืนชีพจากเถ้า ถ่าน (หมายถึงตัวชุดโปรแกรมมอซิลลา) แต่ภายหลังมีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับบริษัท Phoenix Technologies ผู้ผลิตไบออสของเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น ไฟร์เบิร์ด (Firebird) คู่ไปกับโปรแกรมอีเมลที่ แยกตัวออกมาเหมือนกันในชื่อ ทันเดอร์เบิร์ด (Thunderbird) แต่ก็ยังมีปัญหาชื่อซ้ำซ้อนกับโครงการ ฐานข้อมูลไฟร์เบิร์ด (Firebird database server) เช่นกัน ทางมูลนิธิมอซิลลาจึงหาชื่อที่ไม่มีปัญหา และจด ทะเบียนเครื่องหมายการค้าในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ (Firefox) ส่วนทันเดอร์เบิร์ดนั้นไม่มีปัญหาเรื่องชื่อแต่อย่างใด
ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต
นอกจากนี้ยังมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้บริการ ได้แก่
1. บริการอินเทอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สันบสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
2. บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)
3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
3. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านระบบโทรศัพท์ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Loop)
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่าระบบโทรศัพท์แบบเดิม ชุมสายโทรศัพท์ที่ให้บริการหมายเลข ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ คือ DSL Access Module เพื่อทำการแยกความถี่สูงนี้ออกจากระบบโทรศัพท์เดิม และลัดเข้าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยตรง ส่วนผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจะต้องมี ADSL Modem ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน ADSL จะมีความเร็วที่ 64/128 Kbps (อัพโหลที่ 64 Kbps และดาวน์โหลดที่ 128 Kbps) และที่ 128/256 Kbps (อัพโหลดที่ 128 Kbps และดาวน์โหลดที่ 256 Kbps) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้บริการ
1. ADSL modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณ
เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันใช้การส่งผ่านดาวเทียมแบบทางเดียว (One way) คือ จะมีการส่งสัญญาณมายังผู้ใช้ (download) ด้วยความเร็วสูงในระดับเมกะบิตต่อวินาที แต่การส่งสัญญาณกลับไปหรือการอัพโหลด จะทำได้โดยผ่านโทรศัพท์แบบธรรมดา ซึ่งจะได้ความเร็วที่ 56 Kbps การใช้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมอาจได้รับการรบกวนจากสภาพอากาศได้ง่าย 1. จานดาวเทียมขนาดเล็ก 2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์ 3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น
2. อุปกรณ์รับสัญญาณจากดาวเทียมเพื่อแปลงเข้าสู่คอมพิวเตอร์
3. โมเด็มธรรมดา พร้อมสายโทรศัพท์ 1 คู่สาย เพื่อส่งสัญญาณกลับ (Upload)
4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ในปัจจุบันมีเพียงรายเดียว คือ CS Internet ในเครื่อชินคอร์ปอเรชั่น
4. บริการอินเตอร์เนตผ่านดาวเทียม (Satellite Internet)
องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยดาวเทียม
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ปัจจุบันได้มีการนำเอาอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กานำเอามา
ประยุกต์ใช้กับภาคธุรกิจ เนื่องจากอินเตอร์เน็ตถือเป็นช่องทางหนึ่งที่สำคัญเพื่อประโยชน์ในการสื่อ
สารทางการตลาดให้กับธุรกิจ นอกเหนือจากเครื่องมือสื่อสารอื่นๆทางการตลาด ในการสื่อสารทาง
การตลาดแบบบูรณาการ เช่นการนำอินเตอร์เน็ตมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยประชาสัมพันธ์ได้อย่าง
หลากหลาย ช่วยเรื่องการติดต่อทางธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์การ
สนทนาผ่านโปรแกรม chat หรือ VDO Conference การชำระเงินค่าสินค้าบริการผ่านอินเตอร์เน็ต
ช่วยค้นหาข้อมูลทางธุรกิจ เป็นต้น อินเตอร์เน็ตช่วยสร้างโอกาศทางธุรกิจในหลายๆด้านได้แก่
1. อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนสำนักงานออนไลน์ ที่สามารถเปิดขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
2. อินเตอร์เน็ตช่วยให้เรานำสินค้าเปิดสู่ตลาดโลกได้โดยง่าย
3. อินเตอร์เน็ตช่วยให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
4.อินเตอร์เน็ตช่วยให้สามารถสร้างเครือข่ายธุรกิจ นอกจากการเปิดเว็บไซต์เพื่อขายสินค้าของตนเองแล้ว อินเตอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือทางด้านการค้าได้จากการฝากขายสินค้าของตนผ่านเว็บไซต์อื่น
5. อินเตอร์เน็ตช่วยให้เราสามารถแบ่งแยกหมวดหมู่ได้ตรงเป้าหมาย
6. อินเตอร์เน็ตช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน